วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบกฎหมาย

คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน
                1.  กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ.
ตอบ  ต่างกัน  กฎหมายทั่วไปคือ กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เช่น นายชมต้องการฆ่านายชัย จึงส่งจดหมายไปถึงนายชิตมือปืนรับจ้างให้ฆ่านายชัย ต่อมานายชมเปลี่ยนใจไม่ต้องการฆ่านายชัยโดยเพียงต้องการทำร้ายเท่านั้น จึงส่งจดหมายอีกฉบับหนึ่งถึงนายชิตมีใจความว่า ขอยกเลิกข้อความในจดหมายฉบับแรกทั้งหมดและให้นายชิตไปคอยดักทำร้ายนายชัย ปรากฏว่าจดหมายฉบับแรกหายกลางทางไปไม่ถึงมือนายชิต แต่นายชิตได้รับจดหมายฉบับที่สอง โดยไม่รู้เรื่องในจดหมายฉบับแรกเลย และได้ไปคอยดักทำร้ายนายชัยตามที่นายชมว่าจ้าง เมื่อนายชัยเดินทางมาถึง นายชิตซึ่งแอบอยู่ก็ตรงเข้าใช้ไม้ตีทำร้ายนายชัย เป็นเหตุให้นายชัยล้มลงศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตาย
                การลงโทษตามกฎหมายอาญา        
นายชมไม่ต้องรับผิดฐานเป็นผู้ใช้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ในความผิดฐานฆ่านายชัยเพราะเมื่อจดหมายฉบับแรกหายกลางทางและนายชิตไม่รู้ข้อความใด ๆ ในจดหมายฉบับแรกเลย จึงยังไม่มีการใช้ให้ไปฆ่า นายชมจึงไม่ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) แต่อย่างใดนายชิตไปดักทำร้ายนายชัยตามที่รับจ้างมา เป็นการทำร้ายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อนายชัยถึงแก่ความตายอันเป็นผลโดยตรงจากการทำร้าย นายชิตจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคสองนายชมมีความผิดเช่นเดียวกับนายชิตโดยเป็นผู้ใช้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 แม้นายชัยจะถึงแก่ความตายแต่ก็เป็นการกระทำภายในขอบเขตของการใช้ ซึ่งผู้ใช้ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 87
กฎหมายกาศึกษาคือ กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้อง กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เช่น การกระทำผิดวินัย นาง ข. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ข้าราชการพลเรือนสามัญเดิม) ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน พ.. 2546 จนถึงปัจจุบันเป็นความผิดวินัยร้ายแรง กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ตามมาตรา 92 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ           พลเรือน พ.. 2535 ...สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีมติไล่ออกจากราชการ
               

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ       การศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ  รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550  ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
              มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
              มาตรา50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
             

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ 
                ตอบ       มาตรา  1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ  พ.ศ.2545”
มาตรา  2  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                           มาตรา  3  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ.ศ.2523
                                มาตรา  4  ในพระราชบัญญัตินี้
                                “การศึกษาภาคบังคับ”  หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                                “สถานศึกษา”  หมายความว่า  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
                                “ผู้ปกครอง”  หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
                                “เด็ก”  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
                                “คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”  หมายความว่า  คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                                “คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา”  หมายความว่า  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                                “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
                                “พนักงานเจ้าหน้าที่”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                                “รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                                มาตรา  5  ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา  และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับโดยให้ปิดประกาศไว้    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถานศึกษา  รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
                                มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเมื่อผู้ปกครองร้องขอ  ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
                                มาตรา  7  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ  ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น  เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของเด็ก  หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาตามมาตรา  5  ให้ดำเนินการให้เด็กนั้น  ได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น  แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณีทราบ  ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก  แล้วแต่กรณี  เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
             มาตรา  8  ในการปฏิบัติหน้าที่  พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา  9  ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่  ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
               มาตรา  10  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา     
            มาตรา  11  ผู้ใดซึ่งมิใช่ผู้ปกครอง  มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย  ต้องแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่  เว้นแต่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ด้วยกับผู้นั้น       การแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
             มาตรา  12  ให้กระทรวงศึกษาธิการ  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถานศึกษา  จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  การสื่อสารและการเรียนรู้  หรือมีร่างกายพิการ  หรือทุพพลภาพ  หรือเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้  หรือไม่มีผู้ดูแล  หรือด้อยโอกาส  หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม  รวมทั้งการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก  สื่อ  บริการ  และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น  เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
             มาตรา  13  ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  6  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
              มาตรา  14  ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา  9  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท 
  มาตรา  15  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร  กระทำด้วยประการใด ๆ  อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
             มาตรา  16  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  11  หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
            มาตรา  17  ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ให้คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
             มาตราที่  18  ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  ให้คณะกรรมการการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร  คณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ  หรือคณะกรรมการการประถมศึกษากิ่งอำเภอ  แล้วแต่กรณี  ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  และให้สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร   สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ  หรือสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี  ทำหน้าที่แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
 มาตรา  19  ให้บรรดากฎกระทรวง  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ.ศ.2523  ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษายังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา  20  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่  กับมีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
               มาตราที่ผู้ปกครองต้องยึดถือปฎิบัติ คือ    มาตรา  15  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร  กระทำด้วยประการใด ๆ  อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เพราะเด็กทุกคนมีสิทธ์ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าผู้ปกครองไม่สนับสนุนหรือ ขัดขว้างการศึกษาของเด็ก ผู้ปกครองถือว่ามีความผิด
               

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
                ตอบ ไม่ได้ เพราะ  ตามมาตรา ๔๓ ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(๕) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
                บทลงโทษ คือ  มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
          บทกำหนดโทษ
           มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งทั้งปรับ

          มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        
               
5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ ตอนแรกต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ว่าครูได้กระทำจริงหรือไม่ และจากนั้นถ้ากระทำจริงก็พิจรณาความรุนแรงที่ครูได้กระทำต่อเด็กว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด และเจตนาที่ผู้กระทำผิดแสดงออกให้เห็นหร้อมทั้งหาหลักฐานอื่น ๆ  กรณีนี้น่าจะตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ หรือมาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี อันตรายสาหัสนั้น คือ ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ยี่สิบวัน หรือจนประกอบ กิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน



                6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ประเด็น ที่  1 คือ ระเบียบการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา คือจะต้องศึกษาระเบียบการลงโทษให้ดี ว่า วิ่งไหน สามารถลงโทษนักเรียนได้ และสิ่งไหนที่ไม่สามารถทำได้เช่น  นักเรียนทำผิด เมื่อก่อนอาจจะให้ การตี ในการลงโทษนักเรียน แต่ดิฉันจะลงโทษโดยการ อาจจะสั่งการบ้านมากขึ้น ตัดคะแนนคุณธรรม ในห้องเรียน เพราะกฎหมากำหนดไว้ ห้าม ครูตีนักเรียน
ประเด็นที่ 2 คือ กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบการลา คือ เพราะดิฉันคิดว่า การลานั้น เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่หลายคนละเลย แต่ถ้าเราไม่ทำตามกฎระเบียบ สิ่งเหล่านี้ ก็อาจส่งผลต่อตัวเราเอง และเพื่อนร่วมงาน หรือสถานศึกษาที่เราทำงานอยู่ และ ดิฉันคิดว่าการลาป่วย ลากิจส่วนตัว ซึ่งเป็นการลาที่ส่วนใหญ่พวกเราใช้บริการบ่อยครั้ง มีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
ตอบ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ในการนำ เว็บบล็อกมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพราะ วิชานี้เป็นวิชาที่เป็นวิชาที่มีเนื้อหาการสอนเยอะ และ  บางครั้งนักศึกมีเวลาในการเจออาจารย์ในชั้นเรียนน้อย เพราะ นักศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ต้องออกทดลองสอน ดังนั้น เว็บบล็อกตัวนี้ จึงเป็นตัวกลาง ที่จะสื่อสาร ระหว่าง นักศึกษากับอาจารย์ คือ อาจารย์สามารถสั่งงานได้ตลอดเวลา และนักศึกษาก็สามารถทำงานได้ตลอดเวลาเช่นกัน  โดยไม่จำเป็นต้องเข้าห้องเรียน และนักศึกษาก็สามารถเรียนรู้งาน การเรียนการสอน ได้ทุกที่ และทุกเวลา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น